แพ็คเกจทัวร์

www.rodturubjang.com
บริการให้เช่ารถตู้ngv รุ่นใหม่ล่าสุด
พนักงานขับรถชำนาญเส้นทาง
บริการดี ไม่มีเบี้ยวงาน
- ดูหนังฟังเพลง DVD MP3 VCD
- เบาะปรับเอนนอน 14 ที่นั่ง
- ประกันภัยชั้นหนึ่งทุกที่นั่ง
- ทีมงานบริการด้วยความประทับใจ
 
โต๊ะจีนดีดี โต๊ะจีนนครปฐม โต๊ะจีนราคาถูก
โต๊ะจีนดีดี.com
โต๊ะจีนอร่อย สะอาด ปลอดภัย
เริ่มต้นที่ 999 บาท
โต๊ะจีนนครปฐม โต๊ะจีนดีดี
พ า เ ที่ ย ว   ช ว น ส นุ ก ไ ป ก ั บ เ ร า a n n a o n t o u r . c o m
ข้อมูลทั่วไปลพบุรี สถานที่ท่องเที่ยวลพบุรี ที่พักลพบุรี ร้านอาหารลพบุรี การเดินทางไปลพบุรี แผนที่ลพบุรี

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี

ภาพถ่าย
 
ข้อมูล

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2209 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี แบ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงมีซุ้มประตูทั้งหมด 11 ประตู ประตูทางเข้าเป็นทรงจตุรมุขมีช่องทางเข้าโค้งแหลม ตรงจั่วซุ้มประตูตกแต่งลายกระจังปูนปั้นที่วิวัฒนาการมาจากดอกบัว ที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในมีช่องเล็ก ๆ เจาะเป็นรูปโค้งแหลมคล้ายบัวเรียงเป็นแถวสำหรับวางตะเกียง ประมาณ 2,000 ช่อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2399 เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานชื่อว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
สิ่งก่อสร้างภายในพระราชวังแบ่งตามยุคสมัยเป็น 2 กลุ่ม คือ
พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งศิลปกรรมแบบไทยและฝรั่งเศสผสมกัน เดิมเป็นท้องพระโรงมียอดแหลมทรงมณฑป ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชร ซึ่งเป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้า ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม ส่วนตัวมณฑปซึ่งอยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย คือ ซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ในจดหมายเหตุทูตฝรั่งเศส กล่าวพรรณนาพระที่นั่งว่า “ตามผนังประดับด้วยกระจกเงา ซึ่งนำมาจากฝรั่งเศส เพดานแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4 ช่อง ประดับด้วยลายดอกไม้ทองคำ และแก้วผลึกที่ได้มาจากเมืองจีนงดงามมาก” ผนังด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่างเจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับวางตะเกียง ซึ่งจะเห็นได้อีกเป็นจำนวนมากตามซุ้มประตูและกำแพงของพระราชวัง สมเด็จพระนารายณ์ฯ เคยเสด็จออกรับคณะราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ที่พระที่นั่งองค์นี้ในปี พ.ศ. 2228 ด้วย
พระที่นั่งจันทรพิศาล สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2208 เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่สร้างทับลงไปบนรากฐานเดิมของพระที่นั่งซึ่งพระราเมศวรโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอู่ทองได้ทรงสร้างเมื่อครั้งครองเมืองลพบุรี พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ด้านหน้ามีมุขเด็จ ภายหลังเมื่อได้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ขึ้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งองค์ใหม่ และโปรดให้ใช้พระที่นั่งจันทรพิศาลเป็นที่ออกขุนนาง ซึ่งตรงกับบันทึกของชาวฝรั่งเศสว่าเป็นหอประชุมองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงบูรณะพระที่นั่งองค์นี้ตามแบบของเดิม ปัจจุบันตัวอาคารใช้เป้นพิพิธภัณฑฯ จัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและงานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า “พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่ มีสระน้ำใหญ่สี่สระ เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน” สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
ตึกพระเจ้าเหา ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเขตพระราชฐานชั้นนอก ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้อย่างชัดเจนมาก เป็นตึกที่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยกพื้นสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ตัวตึกเป็นรูปทรงไทย ฐานก่อด้วยศิลาแลง และจึงก่ออิฐขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเหลือแต่ผนังประตูหน้าต่าง ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ปัจจุบันคงปรากฏลายให้เห็นอยู่ ด้วยเหตุว่าภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่และชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่าเป็นวัด จึงสันนิษฐานว่าเป็นหอพระประจำพระราชวัง ตึกพระเจ้าเหาหรือ “พระเจ้าหาว” (หาวเป็นภาษาไทยโบราณ หมายถึงท้องฟ้า) ในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเพทราชา และขุนหลวงสรศักดิ์ใช้ตึกพระเจ้าเหาเป็นที่นัดแนะประชุมขุนนางและทหารเพื่อแย่งชิงราชสมบัติขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระประชวรหนัก
ตึกรับรองแขกเมือง ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ใกล้กับหมู่ตึกสิบสองท้องพระคลังเป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่กลางอุทยาน ซึ่งแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบ ภายในคูน้ำมีน้ำพุเรียงรายเป็นระยะอยู่ 20 แห่ง จากเค้าโครงที่เห็นแสดงว่าในสมัยก่อนคงจะสวยงามมาก ทางด้านหน้าตึกเลี้ยงรับรองมีรากฐานเป็นอิฐแสดงให้เห็นว่าตึกหลังเล็ก ๆ คงจะเป็นโรงมหรสพ ซึ่งมีการแสดงให้แขกเมืองชมภายหลังการเลี้ยงอาหาร สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส ณ สถานที่นี้ใน พ.ศ. 2228 และ พ.ศ. 2230
พระคลังศุภรัตน์ (หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง) เป็นหมู่ตึกตั้งอยู่ระหว่างอ่างเก็บน้ำประปาและตึกซึ่งใช้เป็นสถานที่พระราชทานเลี้ยงชาวต่างประเทศ สร้างขึ้นอย่างมีระเบียบด้วยอิฐเป็น 2 แถวยาวเรียงชิดติดกัน อาคารมีลักษณะค่อนข้างทึบ มีถนนผ่ากลาง จำนวนรวม 12 หลัง เข้าใจว่าเป็นคลังเพื่อเก็บสินค้า หรือเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ
อ่างเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำประปา ก่อด้วยอิฐยกขอบเป็นกำแพงสูงหนาเป็นพิเศษ ตรงพื้นที่มีท่อดินเผาฝังอยู่เพื่อจ่ายน้ำไปใช้ตามตึกและพระที่นั่งต่างๆ โดยท่อดินเผาจากทะเลชุบศรและอ่างซับเหล็กตามบันทึกกล่าวว่า ระบบการจ่ายทดน้ำเป็นผลงานของชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน
โรงช้างหลวง ตั้งเรียงรายเป็นแถวชิดริมกำแพงเขตพระราชฐานชั้นนอกด้านในสุด โรงช้างส่วนใหญ่ปรักหักพังเหลือแต่ฐานปรากฏให้เห็นประมาณ 10 โรง ช้างซึ่งยืนโรงในพระราชวัง คงเป็นช้างหลวงหรือช้างสำคัญ สำหรับใช้เป็นพาหนะของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่
สิ่งก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏและอาคารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนารายณ์
หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2405 เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์ เมื่อครั้งเสด็จบูรณะเมืองลพบุรี ประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์ คือ พระที่นั่งพิมานมงกุฏ เป็นที่ประทับ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย เป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน พระที่นั่งไชยศาสตรากร เป็นที่เก็บอาวุธ พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานให้เป็นศาลากลางจังหวัด ต่อมาเมื่อศาลากลางจังหวัดย้ายไปอยู่ที่ใหม่ พระที่นั่งหมู่นี้จึงรวมกับพระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
หมู่ตึกพระประเทียบ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน เป็นตึกชั้นเดียว 2 หลัง ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง 2 ชั้น เรียงรายอยู่ 8 หลัง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายในที่ตามเสด็จรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองลพบุรี
ทิมดาบหรือที่พักของทหารรักษาการณ์ เมื่อเดินผ่านประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลาง ข้างประตูทั้งสองด้านตรงบริเวณสนามหญ้าจะแลเห็นศาลาโถงข้างละหลัง นั่นคือตึกซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์ในเขตพระราชวัง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการ ตามอาคารต่างๆ ในบริเวณพระนารายนณ์ราชนิเวศน์ ดังนี้
1. พระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยและแหล่งโบราณคดีจังหวัดลพบุรี โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ภาชนะสำริด เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น ภายในพระที่นั่งแบ่งเป็นห้องต่างๆ ได้แก่
- ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ. 800-1500 รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อถือ หลักฐานที่จัดแสดงได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่าง ๆ
- ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร-ลพบุรี จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นต้น
- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปกรรมที่พบตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ได้แก่ ศิลปะแบบหริภุญไชย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัยลพบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ
- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 -24 ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้น และไม้แกะสลักต่าง ๆ
- ห้องศิลปร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียนและภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย
- ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2399 ได้แก่ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นพระบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีรูปมงกุฎซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นต้น
2. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีศาสนวัตถุต่างๆ ในพุทธศตวรรษที่ 19-24 ห้องด้านหลังจัดแสดงงานประณีตศิลป์สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์
3. หมู่ตึกพระประเทียบ (อาคารชีวิตไทยภาคกลาง) เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องชีวิตไทยภาคกลาง การดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบอาชีพประมง การเกษตร ศิลปหัตกรรมพื้นบ้านของคนไทยในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีที่ใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม
บริเวณพิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.
ส่วนโบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เปิดให้เข้าชม วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 07.00-17.30 น.
ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 036-411458

การเดินทาง

 

 
สถานที่ท่องเที่ยว จ.ลพบุรี
อำเภอเมือง
- วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
- วัดกวิศรารามราชวรวิหาร
- วัดมณีชลขัณฑ์
- วัดเสาธงทอง
- วัดหนองเต่า (วัดพาณิชธรรมมิการาม)
- วัดนครโกษา
- วัดสันเปาโล
- วัดชีป่าสิตาราม
- วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร (วัดเขาพระงาม)
- วัดเชิงท่า
- พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- พระนารายณ์ราชนิเวศน์
- ศาลพระกาฬ
- หลักเมืองลพบุรี ศาลหลักเมือง หรือ ศาลลูกศร จ.ลพบุรี
- พระปรางค์สามยอด
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
- สวนสัตว์ลพบุรี
- หมู่บ้านทำดินสอพอง
- พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์
- อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี(ททท.) ภาคกลาง เขต 7
- แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร
- ฟาร์มเห็ดขจรวิทย์
- พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร)
- บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านหลวงวิชาเยนทร์
- อ่างซับเหล็ก
- วัดตองปุ
- วัดยาง ณ รังสี และพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน
- เทวสถานปรางค์แขก
- ป่าจำปีสิรินธร
- หอไตรวัดท่าแค
อำเภอท่าวุ้ง
- วัดไลย์
- เขาสมอคอน
อำเภอบ้านหมี่
- วัดธรรมิการาม หรือวัดค้างคาว
- วัดท้องคุ้งท่าเลา
- วัดท้องคุ้ง
- วัดเขาวงกต
- อำเภอบ้านหมี่
อำเภอโคกสำโรง
- เขาวงพระจันทร์
อำเภอพัฒนานิคม
- ทุ่งทานตะวัน
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
- พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว
- สวนเหรียญทอง
- วัดพรหมรังษี
อำเภอหนองม่วง
อำเภอสระโบสถ์
อำเภอโคกเจริญ
อำเภอท่าหลวง
- เมืองโบราณซับจำปา
- ป่าจำปีสิรินธร หรือ ป่าซับจำปา
อำเภอชัยบาดาล
- น้ำตกวังก้านเหลือง สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์
- ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง
- ไร่ชัยนารายณ์
อำเภอลำสนธิ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
- ปรางค์นางผมหอม
ที่พักลพบุรี
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.ลพบุรี
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.ท่าวุ้ง
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.บ้านหมี่
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.โคกสำโรง
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.พัฒนานิคม
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.หนองม่วง
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.สระโบสถ์
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.โคกเจริญ
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.ท่าหลวง
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.ชัยบาดาล
 
รีสอร์ท โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ อ.ลำสนธิ
 
ร้านอาหาร ร้านของฝากลพบุรี
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.ลพบุรี
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.ท่าวุ้ง
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.บ้านหมี่
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.โคกสำโรง
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.พัฒนานิคม
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.หนองม่วง
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.สระโบสถ์
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.โคกเจริญ
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.ท่าหลวง
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.ชัยบาดาล
 
ร้านอาหาร ร้านของฝาก อ.ลำสนธิ
 
 
วีดีโอท่องเที่ยว

Google


  ทั่วโลก  annaontour

 
www.เช่ารถตู.com
เช่ารถตู้ van tour thailand 租面包车旅游泰国
เช่ารถตู้ คนไทยเชื่อถือได้
บริการดีไม่ทิ้งงาน
van tour thailand
租面包车旅游泰国
 
 
 
สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พักโรงแรม ในประเทศไทย
ท่องเที่ยวประเทศไทย ไปกับอันแน่ออนทัวร์ ผมเริ่มเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยก่อน เริ่มจากสมัยเรียนอาศัยโบกรถไปเที่ยวจังหวัดไม่ไกลก่อน จากนั้นพอเริ่มมีเงินก็เริ่มขึ้นรถเมล์รถประจำทาง จากไม่ค่อยรู้เรื่องทำให้ผมมีประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหลากหลายรูปแบบ เพราะมันเป็นความชอบส่วนบุคคลมากกว่า รูปและคลิปวีดีโอที่ผมนำมาลงที่เว็บไซต์อันแน่ออนทัวร์ เป็นข้อมูลที่ผมได้เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เอง ฉะนั้นข้อมูลในแต่ละจังหวัด แต่ละสถานที่อาจจะยังไม่ได้อัพเดทเท่าที่ควร นอกจากเสียว่าผมได้เดินทางไปเที่ยวที่นั่งเองแล้วก็จะนำประสบการณ์การท่องเที่ยว ที่ได้พบมามาถ่ายทอดในรูปแบบอันแน่ออนทัวร์ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ที่พัก ของฝาก กิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้ว จะออกมาจากความรู้สึกของอันแน่ออนทัวร์เอง อาจจะไม่ใช่ข้อมูลเชิงหลักการทางวิชาการที่แน่นอน แต่มันเป็นข้อมูลทางความรู้สึกที่อันแน่ออนทัวร์ได้พบเห็นจากการเดินทาง
ภาคกลาง
|กรุงเทพมหานคร | กาญจนบุรี | ฉะเชิงเทรา | ชัยนาท | นนทบุรี | นครปฐม | นครนายก | ประจวบคีรีขันธ์ | ปทุมธานี | ปราจีนบุรี | เพชรบุรี| ราชบุรี | ลพบุรี | สิงห์บุรี | สุพรรณบุรี | สมุทรสาคร | สมุทรสงคราม | สมุทรปราการ | สระแก้ว | สระบุรี | อยุธยา | อ่างทอง |
ภาคอีสาน
|กาฬสินธุ์ | ขอนแก่น | ชัยภูมิ | นครราชสีมา | นครพนม | บึงกาฬ | บุรีรัมย์ | มหาสารคาม | มุกดาหาร | ยโสธร | ร้อยเอ็ด | เลย | ศรีสะเกษ | สกลนคร | สุรินทร์ | หนองคาย | หนองบัวลำภู | อุบลราชธานี | อุดรธานี | อำนาจเจริญ |
ภาคเหนือ
|กำแพงเพชร | เชียงใหม่ | เชียงราย | ตาก | น่าน | นครสวรรค์ | พิษณุโลก | พะเยา | เพชรบูรณ์ | แพร่ | พิจิตร | แม่ฮ่องสอน | ลำพูน | ลำปาง | สุโขทัย | อุตรดิตถ์ | อุทัยธานี |
ภาคใต้
|กระบี่ | ชุมพร | ตรัง | นครศรีธรรมราช | นราธิวาส | ปัตตานี | พังงา | พัทลุง | ภูเก็ต | ยะลา | ระนอง | สตูล | สงขลา |สุราษฎร์ธานี |
ภาคตะวันออก
|ชลบุรี | จันทบุรี | ระยอง | ตราด |
 
 
 
ขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กทม. 10400 โทรศัพท์. 02-2505500
ขอบคุณข้อมุลจากกรมอุทยานแห่งชาติ 61 ถนนพหลโยธิน แขวง เสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 โทรศัพท์. 02-561777, 02-579666
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
best view with 800*600 by IE browser Copyright (c) 2005 All Rights Reserved :: Contac me >> annop_nanya@hotmail.com
 
แนะนำบริการและร้านค้าในเครือข่ายเรา
คู่มือซื้อของออนไลน์ : จองโรงแรมผ่านเน็ต : รีวิวโรงแรม : bticino : แบตเตอรี่ : ท่อhdpe : สายไฟ : fiber optic : haco